การฟื้นฟูวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม : ความท้าทายของชาวชองในภาคตะวันออกของประเทศไทย

การเริ่มสอนภาษาชองในโรงเรียนประถมศึกษา

 

ปลายปี 2533 (1990) นักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ทาบทามผู้นำชุมชนชาวชอง ให้เข้าร่วมชั้นเรียนซึ่งสอนนักศึกษาปริญญาโทให้จดบันทึกรวบรวมภาษาที่พวกเขาไม่รู้จัก ท้ายที่สุด ผู้นำชาวชองได้กล่าวกับนักวิจัยผู้นั้นว่า ภาษา วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ชองอยู่ในสภาวะที่กำลังจะสูญพันธุ์ และพวกเขาต้องการที่จะฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง นักวิจัยได้ตอบรับที่ช่วย และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูภาษาชอง

ในปี 2543 (2000) ได้มีการสำรวจชาวชอง และปรากฎว่ามากว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของชาวชองต้องการที่จะเห็นการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง ในปีเดียวกันนี้จึงได้มีจัดสัมมานาเชิงปฏิบัติการในหมู่บ้านเพื่อพัฒนาระบบการเขียนของภาษาชองให้เป็นมาตราฐาน ซึ่งจนถึงในขณะนั้นยังไม่มีภาษาเขียน ท้ายที่สุดได้มีการตกลงกันว่าจะใช้อักษรไทยเป็นแบบอย่าง โดยใช้อักษรไทยแทนเสียง ในขณะเดียวกันก็ประสบความสำเร็จในการชักชวนให้โรงเรียนประถมในท้องถิ่นสนใจ และวางแผนที่จะสอนภาษาชองในโรงเรียนอย่างเป็นทางการ นักวิชาการได้ช่วยกันพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาชอง และในปี 2545 (2002) ได้เริ่มการเรียนการสอนภาษาชองในชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนประถมวัดคลองพลูอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ในปัจจุบันได้มีการเรียนการสอนภาษาชองในชั้นประถมปีที่ 4 ถึง  6  ในโรงเรียนวัดตะเคียนทองอาทิตย์ละ 3 ครั้ง โดยมีนักเรียนที่ไม่ใช่ชาวชองเข้าเรียนด้วย